ระบบ LAN (Local Aria Network)
ย่อมาจาก Local Aria Network ซึ่งแปลได้ว่า “ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก” ที่ต้องประกอบด้วย Server
และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2
เครื่องขึ้นไป
ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการและผู้ใช้โดยที่ผู้ให้บริการซึ่งเป็น Server
นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำให้การทำงานเป็นเช่นไร
และในส่วนของ Server เองจะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสถานะภาพสูง
เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้างหน่วยความจำได้มาก มีระดับการประมวลผลที่ดี
และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร
จะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ
ประเภทของระบบเครือข่ายท้องถิ่น
ระบบเครือข่ายท้องถิ่นสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. Peer – to – peer เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ workgroup ” ทุกเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระห่าวงกัน การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การแชร์เครื่องพิมพ์ การแชร์ฮาร์ดิสก์
2. Client / server เป็นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ สูงเป็นเครื่องแม่ข่าย เพื่อเก็บโปรแกรม แล้วให้เครื่องลูกข่ายร้องขอข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งาน
ระบบเครือข่ายท้องถิ่นสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. Peer – to – peer เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ workgroup ” ทุกเครื่องในเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระห่าวงกัน การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การแชร์เครื่องพิมพ์ การแชร์ฮาร์ดิสก์
2. Client / server เป็นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ สูงเป็นเครื่องแม่ข่าย เพื่อเก็บโปรแกรม แล้วให้เครื่องลูกข่ายร้องขอข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งาน
วัตถุประสงค์ของการใช้งานในระบบแลน (Local Area Network, LAN)
1. ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่อยู่ใกล้กัน
2. ต้องการแบ่งปันทรัพยากรต่างๆเพื่อใช้ร่วมกัน เช่นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์บางชนิดมีราคาสูงมาก
1. ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่อยู่ใกล้กัน
2. ต้องการแบ่งปันทรัพยากรต่างๆเพื่อใช้ร่วมกัน เช่นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์บางชนิดมีราคาสูงมาก
โครงสร้างของระบบเครือข่าย แบบ LAN
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ
(LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย
ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ
ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ
มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย
แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
ข้อดี -
เปลี่ยนรูปแบบการวางสายได้ง่าย สามารถเพิ่ม node ได้ง่าย ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย
ข้อ เสีย- ต้องใช้สายเคเบิลจำนวนมาก มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูง การเชื่อมต่อจากศูนย์กลางทำให้มีโอกาสที่ระบบเครือข่าย จะล้มเหลวพร้อมกันได้ง่าย
ข้อ เสีย- ต้องใช้สายเคเบิลจำนวนมาก มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูง การเชื่อมต่อจากศูนย์กลางทำให้มีโอกาสที่ระบบเครือข่าย จะล้มเหลวพร้อมกันได้ง่าย
โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน
ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกันถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา
โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย
และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม
ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
ข้อดี -
ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง
ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
-
สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
ข้อเสีย - ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก
จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
- การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก
ต้องทำจากหลายๆจุด
โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ
ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ
ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย
ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย
และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
ข้อดี - มีการใช้สายเคเบิลน้อย มีประสิทธิภาพสูง แม้ว่าการจราจรของข้อมูลในเครือข่ายจะมาก
ข้อเสีย - ถ้ามี node ที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในระบบจะกระทบกับทั้งเครือข่าย- การตรวจหาปัญหาทำได้ยาก – การเปลี่ยนแปลงเครือข่ายทำได้ยากและอาจต้องหยุดการใช้งานเครือข่ายชั่วคราว
ข้อดี - มีการใช้สายเคเบิลน้อย มีประสิทธิภาพสูง แม้ว่าการจราจรของข้อมูลในเครือข่ายจะมาก
ข้อเสีย - ถ้ามี node ที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในระบบจะกระทบกับทั้งเครือข่าย- การตรวจหาปัญหาทำได้ยาก – การเปลี่ยนแปลงเครือข่ายทำได้ยากและอาจต้องหยุดการใช้งานเครือข่ายชั่วคราว
ระบบ MAN (Metropolitan
Area Network)
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง
Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น
การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ
จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก
จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย
เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย
มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ
คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
ระบบแมน (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่
ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร
ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน
เป็นการติดต่อระหว่างเมือง เช่น กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่
เชียงใหม่กับยะลาหรือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ring ตัวอย่างเช่น ระบบ FDDI (Fibre
Data Distributed Interface) ที่มีรัศมีหรือระยะทางการเชื่อมต่ออยู่ที่ 100
กิโลเมตร อัตราความเร็วอยู่ที่ 100 Mbps มีรูปแบบการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยวงแหวนสองชั้นๆ
แรกเป็น Primary Ring ส่วนชั้นที่ 2 เป็น Secondary Ring หรือ Backup Ring โดยชั้น Secondary Ring จะทำงานแทนกันทันทีที่สายสัญญาณใน Primary Ring ขาด FDDI เป็นโปรโตคอลของเครือข่ายที่เน้นการจัดส่งข้อมูลที่ความที่ความเร็วสูง
ส่งได้ในระยะทางที่ไกลและมีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากใช้สายใยแก้วนำแสง
จึงมีผู้นำ FDDI สูง
มาใช้เป็นแบ็กโบนเพื่อการขนส่งข้อมูล อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ FDDI สูง ประกอบกับการที่ระบบ Gigabit
Ethernet ถูกออกแบบมาให้แทนที่ FDDI ดังนั้นโครงข่ายนี้กำลังถูกกลืนด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีใน
ระบบ WAN (Wide Area Network)
ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ
หรือติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก
เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล
ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่ง ประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมี อัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย
ประเภทของเครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
เครือข่ายส่วนตัว (Private Network)
เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์การที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่
เช่น องค์การที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย
เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี
ในระดับกายภาพ (Physical Layer) ของการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ
เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น
การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล
สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการได้
เครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network)
เครือข่ายสาธารณะ (PDNs) หรือที่บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Value Assed) เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN) ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น
เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้
โดยการจัดตั้งอาจทำการวางโครงข่ายช่องทางการสื่อสารเอง
หรือเช่าใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะก็ได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะ
จะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่
รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่างหลาย ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว
ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ
ความแตกต่างของระบบ LAN/MAN/WAN Network
คือ ระยะทางในการเชื่อมต่อ
และลักษณะในการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกัน เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์
มินิคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม และอุปกรณ์ต่อพวงอื่นๆ
LAN เป็นเครือข่ายที่ใช่ติดต่อภายในอาคาร
องค์กรหรือระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร อัตราความเร็วอยู่ที่ 10-100 Mbps
MAN เป็นเครือข่ายที่ใช่ติดต่อระหว่างภูมิภาคระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร อัตราความเร็วอยู่ที่ 100 Mbps
WAN เป็นเครือข่ายที่ใช่ติดต่อระหว่างประเทศหรือทวีป อัตราความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps
เนื่องจากระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง
MAN เป็นเครือข่ายที่ใช่ติดต่อระหว่างภูมิภาคระยะทางไม่เกิน 100 กิโลเมตร อัตราความเร็วอยู่ที่ 100 Mbps
WAN เป็นเครือข่ายที่ใช่ติดต่อระหว่างประเทศหรือทวีป อัตราความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps
เนื่องจากระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง
ประโยชน์ของระบบ LAN/MAN/WAN
Network
ช่วยในการจัดการทรัพยากรภายในองค์กรมีประสิทธิภาพและคุมค่ามากที่สุด
และช่วยในเรื่องการติดต่อสื่อสารให้มีความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย และถูกต้องมากขึ้น
และยังช่วยลดค่าใช่จ่ายในการติดต่อสื่อสารอีกด้วย
ตัวอย่างองค์กรที่ใช้ระบบเครือข่าย
LAN/MAN/WAN
ปัจจุบันองค์กรเกือบทุกองค์กรได้นำระบบเครือข่าย LAN/MAN/WAN
มาช่วยใจการจัดการทรัพยากรและในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง
และทันเหตุการณ์ เพื่อที่จะได้เปรียบคู่แข่งขัน
ตัวอย่างองค์กร
ธนาคาร
ปัจจุบันธนาคารได้นำ ระบบเครือข่าย LAN เข้ามาช่วยในการจัดการระบบต่างๆ ในธนาคาร เช่น
เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
เพื่อความรวดเร็วและสะดวกในการจัดเก็บและดูข้อมูล
และยังได้เชื่อมคอมพิวเตอร์ไปยังครื่องพิมพ์และเครื่องออกบัตรต่างๆ เพื่อที่จะได้ใช่ทรัพยากรได้อย่างคุ่มค่าที่สุด
ธนาคารได้นำ ระบบเครือข่าย MAN มาใช่ในการติดต่อกับธนาคารสาขาย่อยต่างๆ
เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาทำการตัดสินใจในการลงทุนต่างๆหรือลดการลงทุนในสาขานั้นๆ
ธนาคารได้นำ ระบบเครือข่าย
WAN
มาใช่ในการติดต่อกับสาขาที่อยู่ต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร
และยังทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วเพื่อที่จะได้นำข้อมูลไปตัดสินใจในการลงทุนเพิ่มหรือลดการลงทุนได้อย่างเหมือสมและยังทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขันอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น